การเข้ามามีบทบาทของสหรัฐอเมริกาในชิลีก่อนคริสต์ศตวรรษที 20 จนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ของ การแทรกแซงของสหรัฐในชิลี

สหรัฐอเมริกาเริ่มเข้ามามีเกี่ยวข้องกับประเทศชิลีตั้งแต่ในสงครามแปซิฟิก (Pacific War) ในปี 1879 – 1883 โดยสงครามครั้งนี้เป็นสงครามระหว่างชิลีกับประเทศเปรูและโบลิเวีย ซึ่งผลของสงครามฝ่ายชิลีเป็นผู้ชนะ มีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ทำให้ชิลีได้ดินแดนของเปรูและดินแดนชายฝั่งของโบลิเวีย[1]

มูลเหตุที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาเกี่ยวข้องในสงครามครั้งนี้เพราะในประเทศเปรู มีนักธุรกิจชาวอเมริกันเข้าไปทำธุรกิจอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อสงครามเกิดขึ้นแล้ว สหรัฐอเมริกาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาหนทางในการปกป้องผลประโยชน์ทางธุรกิจของชาวอเมริกันในประเทศเปรู รวมไปถึงหาทางขัดขวางไม่ให้ชิลีได้รับชัยชนะ เพราะถ้าชิลีชนะสงคราม โอกาสที่นักธุรกิจอเมริกันจะทำธุรกิจอาจจะประสบภาวะยากลำบาก และอาจมีนักธุรกิจชาวอังกฤษเข้ามาทำธุรกิจด้วย อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาก็ไม่สามารถช่วยเหลือประเทศเปรูได้ จนกระทั่งชิลีสามารถยึดเมืองหลวงของเปรูคือเมืองลิมาได้ แม้ในขั้นต้นสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีเจมส์ การ์ฟีลด์มีความคิดที่จะใช้กองทัพเรือโจมตีชิลี แต่เมื่อพิจารณาแล้วพบกองเรืออเมริกาในเวลานั้นยังไม่พร้อมที่จะรบกับกองเรือของชิลี จึงเปลี่ยนบทบาทของตนในการเป็นผู้เจรจาแทนที่จะทำสงครามกับชิลี ทางสหรัฐอเมริกาพยายามเจรจากับชิลีให้ชิลีคืนดินแดนที่ยึดมาได้ให้กับเปรูและโบลิเวีย ซึ่งบริเวณนั้นเป็นแหล่งแร่ไนเตรนและทองแดง และมีนักธุรกิจชาวอเมริกันทำธุรกิจกันอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ชิลีไม่ยอม และเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาเป็นกลาง ท้ายที่สุดจึงต้องยอมให้ชิลียึดดินแดนในบริเวณนั้นไป

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสหรัฐอเมริกาเข้ามีความสัมพันธ์กับชิลีครั้งแรกในฐานะตัวกลางในการเจรจาระหว่างชิลีและประเทศเปรูและโบลิเวีย เพื่อหาหนทางในการรักษาผลประโยชน์ของชาวอเมริกันในดินแดนเปรูให้ได้ รวมไปถึงชี้ให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกาทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้อิทธิพลของจักรวรรดิอังกฤษในบริเวณนี้มีมากเกินไป

อีกเหตุการณ์หนึ่งก่อนสงครามโลกครั้งที่สองที่สหรัฐอเมริกามีบทบาทในชิลีคือครั้งสงครามกลางเมืองชิลีในปี ค.ศ. 1891 เหตุการณ์นี้คือเหตุการณ์แรกที่สหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาทในประเทศชิลีโดยตรง กล่าวคือในขณะนั้น เกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายประธานาธิบดีมานูเอล บัลมาเชดา (Mauel Balmaceda) กับรัฐสภาเกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับรายได้จากบรรษัทข้ามชาติในแหล่งแร่ไนเตรตและทองแดง ความขัดแย้งลุกลามไปจนถึงการเกิดสงครามกลางเมือง สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในเหตุการณ์ครั้งนี้ผ่านการขอร้องของฝ่ายประธานาธิบดีเพื่อช่วยเหลือให้ชนะสงคราม ทั้งนี้เพราะสหรัฐอเมริกาเล็งเห็นประโยชน์ว่าหากเข้าร่วมกับฝ่ายประธานาธิบดีจะมีโอกาสและกำไรจากแหล่งแร่ไนเตรดและทองแดงมากขึ้น สหรัฐอเมริกาจึงสนับสนุนทั้งทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ อย่างไรก็ตามผลของสงครามฝ่ายรัฐสภาได้รับชัยชนะโดยการช่วยเหลือของอังกฤษ หลังเหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลให้อังกฤษได้รับผลประโยชน์มากขึ้นจากการทำธุรกิจในชิลีและส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและชิลีก่อนสิ้นสุดศตวรรษที่ 19 เป็นไปในทางที่ไม่ดีมากนัก

เมื่อเริ่มต้นคริตศตวรรษที่ 20 สหรัฐอเมริกาประกาศใช้นโยบายเพื่อนบ้านที่ดี (Good Neighbor Policy) เพื่อลดแรงต่อต้านจากชาติต่างๆในลาตินอเมริกา จากการที่สหรัฐอเมริกาเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของประเทศต่างๆ เพื่อปกป้องธุรกิจของประชาชนชาวอเมริกัน โดยนโยบายมีหลักการสำคัญคือจะไม่แทรกแซงกิจการภายในของชาติในลาตินอเมริกา ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาเริ่มได้รับความไว้วางใจจากชาติอื่นๆในลาตินอเมริกา ซึ่งรวมถึงประเทศชิลีด้วย ดังนั้นนักธุรกิจชาวอเมริกันเริ่มเข้าไปประกอบธุรกิจเหมืองแร่ ไนเตรดและเหมืองแร่ทองแดงมากขึ้น จนสามารถควบคุมกิจการเหมืองแร่ของชิลีได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมืองแร่ทองแดง[2] การที่สหรัฐอเมริกาสามารถควบคุมกิจการเหมืองแร่ของชิลีได้เท่ากับว่าสหรัฐอเมริกาสามารถควบคุมระบบเศรษฐกิจของชิลีได้ แม้ว่าการเข้ามาของสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้จะส่งผลให้ชิลีสามารถสร้างรายได้จากทองแดงอย่างมหาศาล แต่รายได้นั้นเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น เพราะรายได้ส่วนใหญ่ตกอยู่ในกลุ่มบริษัทของนายทุนชาวอเมริกัน

หากกล่าวโดยสรุปคือความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศชิลีสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเน้นความสัมพันธ์ทางด้านการค้าการลงทุนเป็นหลัก ส่วนความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองมีไม่มากนัก เพราะเป็นเพียงการให้การสนับสนุนต่อกลุ่มต่างๆเท่านั้น ซึ่งความสัมพันธ์ในรูปแบบนี้จะเริ่มแปรเปลี่ยนไปเป็นการแทรกแซงการเมืองภายในของชิลี เพราะสหรัฐอเมริกาเกิดความกังวลว่าฝ่ายซ้ายจะขึ้นมาครองอำนาจในประเทศชิลี

เหมืองทองแดง Chuquicamata ในปี 1925 ซึ่งชิลีได้มาเมื่อคราวชนะสงครามแปซิฟิก

ใกล้เคียง

การแท้ง การแทรกแซงของสหรัฐในชิลี การแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐของรัสเซีย พ.ศ. 2559 การแทรกแซงทางทหารในลิเบีย พ.ศ. 2554 การแทรกแซงทางเศรษฐกิจ การแทนความรู้ การแทรกสอด การแทนจำนวนมีเครื่องหมาย การแทรกแซงสงครามกลางเมืองรัสเซียโดยฝ่ายสัมพันธมิตร การแทรกสัญญาณข้าม

แหล่งที่มา

WikiPedia: การแทรกแซงของสหรัฐในชิลี http://www.gwu.edu/~nsarchiv/NSAEBB/NSAEBB8/ch26-0... http://www.gwu.edu/~nsarchiv/NSAEBB/NSAEBB8/nsaebb... http://www.gwu.edu/~nsarchiv/latin_america/chile.h... http://www2.gwu.edu/~nsarchiv/NSAEBB/NSAEBB8/docs/... http://www2.gwu.edu/~nsarchiv/news/20000919/01-03.... http://www.princeton.edu/~bsimpson/history405/hist... http://foia.state.gov/Reports/ChurchReport.asp http://foia.state.gov/Reports/HincheyReport.asp